0
ประวัติตำบลคลองพน
ตามประวัติกล่าวว่า คลองพนมีแม่น้ำหลายสายเป็นห้วยหรือคลอง และมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ห้วยแห้ง ห้วยจำปูน ห้วยแก คลองนา คลองแรด คลองคุ้งคั้ง คลองพน และสายน้ำแต่ละสายจะไหล ลงสู่ทะเลน้ำเค็มใกล้บริเวณท่าน้ำ เช่น ท่าน้ำท่อ ท่ามะพร้าว คำว่าท่า หมายถึง ที่เทียบเรือซึ่งการเดินทาง สมัยก่อนการคมนาคมยังไม่สะดวกเท่าที่ควร การเดินทางติดต่อระหว่างหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งอยู่บริเวณชายทะเลจะเดินทาง โดยทางเรืออาจเป็นเรือพาย เรือแจว โดยเฉพาะริมคลองสายหนึ่งจะมีต้นพนขึ้นริมคลองเป็นกลุ่มตามแนวคลอง ลักษณะของต้นพนลำต้นใหญ่เท่าต้นมะพร้าว และมีกาบใบและมีผลช่อเหมือนหมาก ผลมีรสฝาดมากจึงไม่นิยมรับประทาน ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “คลองพน”
ในปี พ.ศ. 2409 (ร.ศ.89) เจ้าเมืองนครได้ส่งพระปลัดเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างที่บ้าน กาไส (ปกาไส) ทำให้ผู้คนจากนครศรีธรรมราชอพยพติดตามเข้ามาหักร้างถางพงเป็นที่ทำกินตาม บริเวณ ที่ราบลุ่มลำคลอง และริมฝั่งทะเลทั่วไปซึ่งได้แก่ บ้านคลองพน คลองขนาน คลองเสียด คลองท่อม คลองเพหลา คลองกาไส คลองกระบี่น้อย คลองกระบี่ใหญ่ คลองปากลาว เป็นต้น ชาวบ้านแต่ละแห่ง จะอยู่กันเป็นอิสระและค่อยขยายตัวมากขึ้น พระปลัดเมืองจึงเล็งเห็นว่าหากปล่อยไว้ให้ปกครองกันเอง อาจก่อให้เกิดปัญหากลุ่มอิทธิพลขึ้นได้ จำเป็นจะต้องจัดการให้ชาวบ้านได้อยู่กันอย่างมีระบบ โดยมีทางบ้านเมืองเข้าไปควบคุมดูแล พระปลัดเมืองจึงได้สำรวจกลุ่มชาวบ้านเหล่านั้นเสนอต่อเจ้าเมืองนครศรี ธรรมราช จัดตั้งเป็นองค์กรการปกครองเรียกว่า “แขวง” ขึ้นครั้งแรก 3 ชุมชน คือ
1. แขวงบ้านกาไส ตั้งขึ้นตรงเพนียดจับช้างริมคลองกาไส
2. แขวงบ้านคลองพน ตั้งขึ้นริมคลองพนซึ่งอยู่ในเขตตำบลคลองพนปัจจุบัน
3. แขวงบ้านปากลาว ตั้งขึ้นริมคลองปากลาวในเขตอำเภออ่าวลึกปัจจุบัน
แต่ละแขวงจะมีหัวหน้าปกครองภายใต้การควบคุมของพระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช โดยปรากฎชื่อทำเนียบข้าราชการปกครองแขวงครั้งแรก ดังนี้
(1) นายภู่ ภรรยาชื่อนางปราง หัวหน้าแขวงปกาสัย
(2) นายแสง ภรรยาชื่อนางอบ หัวหน้าแขวงปากลาว
(3) นายโชติ ภรรยาชื่อนางพัน หัวหน้าแขวงคลองพน
ต่อมาเมื่อแขวงปกาสัยมีความเจริญ และมีผู้คนมากขึ้นตามลำดับ ลำคลองค่อนข้างจะคับแคบ ที่ตั้งของแขวงไม่เหมาะสม พระปลัดเมืองจึงได้ย้ายที่ทำการแขวงมาตั้งที่บ้านขวาง ปากคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งมีความสะดวกมากกว่า และต่อมาได้รับการยกฐานะจากแขวงขึ้นเป็นเมือง ใน ร.ศ. 95 พ.ศ. 2415 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ชื่อว่า “เมืองกระบี่” โดยครั้งแรกประกอบด้วย 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอปากลาว อำเภอเกาะลันตา และ “อำเภอคลองพน”
เมื่อแขวงเมืองกาไสได้รับการยกฐานะเป็นเมืองกระบี่ในปี พ.ศ. 2415 แล้ว ทางการได้ แต่งตั้งให้ “หลวงเทพเสนา” เป็นเจ้าเมืองคนแรก อยู่ในกำกับดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช
ในช่วงนี้ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงปรับปรุงการปกครองจากแบบจตุสดมภ์ แต่เดิมมาเป็นแบบสมัยใหม่ เช่น ยกเลิกคำว่าเมืองมาเป็น “จังหวัด” ยกเลิกคำว่า “แขวงเมือง” มาเป็น “อำเภอ” ยกเลิกคำว่า “หมวด” มาเป็น “ตำบล” ยกเลิกคำว่า “หมู่” มาเป็น “หมู่บ้าน” ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ 15 ร.ศ.96 หลวงเทพเสนาท่านได้ดำเนินงานหลายอย่างให้เป็นไป ตามแผนการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ตามพระบรมราโชบาย รัชกาลที่ 5 คือ
1. ยุบแขวงปากลาว มาตั้งในที่ใหม่ที่บ้านอ่าวลึก
2. ยุบตำบลเกาะลันตา เป็นอำเภอเกาะลันตา
3. ยุบแขวงคลองพนตั้งในที่ใหม่ที่บ้านคลองท่อมซึ่งการคมนาคมสะดวกกว่า มาเป็น อำเภอคลองท่อม
ประวัติความเป็นมาของเทศบาลคลองพน
เดิมเทศบาลตำบลคลองพน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาล ซึ่งสุขาภิบาลคลองพน ได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 104 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2530 โดยกำหนด พื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่เขตการปกครอง จำนวน 7.65 ตารางกิโลเมตร จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ในมาตรา 285 ได้กำหนดให้ท้องถิ่นประกอบด้วยสภาท้องถิ่น และคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ดังนั้น เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 สุขาภิบาลคลองพนจึงได้เปลี่ยนแปลงจาก “สุขาภิบาลคลองพน” เป็น “เทศบาลตำบลคลองพน” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เทศบาลตำบลคลองพน ได้เปิดดำเนินการครั้งแรกโดยเช่าอาคารของเอกชนเป็นสำนักงาน จากนั้นการบริหารกิจการเทศบาลนับวันเจริญขึ้นตลอดเวลา ประกอบกับอาคารสำนักงานเทศบาลเดิม มีสภาพที่คับแคบ สมควรที่ขยับขยายสำนักงานให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน และเป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่ท้องถิ่น จึงได้ทำการก่อสร้างสำนักงานเทศบาลหลังใหม่ขึ้น โดยได้จัดซื้อที่ดินของเอกชน เพื่อก่อสร้างสำนักงานเทศบาลและตลาดสดเทศบาล ซึ่งการดำเนินการก่อสร้าง สำนักงานเทศบาลหลังใหม่แล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 399 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548
ประกอบด้วย
วงกลมด้านนอก เทศบาลตำบลคลองพน จังหวัดกระบี่
วงกลมด้านใน ตรงกลางมีต้นพนและตอนล่างเป็นสายน้ำ
ความหมาย
รูปต้นไม้ หมายถึง ต้นพน ซึ่งมีลักษณะลำต้นคล้ายต้นปาล์มน้ำมัน หรือต้นหมาก ใบเหมือนใบมะพร้าวในอดีตมีมากในตำบลคลองพน
รูปสายน้ำ หมายถึง มีสายน้ำชื่อ “คลองพน” ไหลผ่านพื้นที่ และสายน้ำแห่งนี้ ประชาชน ทั้งในอดีต และปัจจุบันได้ใช้เป็นแหล่งน้ำอุปโภค-บริโภค ตลอดจนทำการเกษตร
0
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลคลองพน มีพื้นที่ทั้งหมด 7.65 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่เลขที่ 399 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองกระบี่ ระยะทางประมาณ 64 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
หมู่ที่ 1 ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ |
การปกครอง
เทศบาลตำบลคลองพนได้แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย
1. ชุมชนน้ำท่อ |
นางสุจิตรา คิดรอบ |
เป็นประธานคณะกรรมการ |
0
ประชากร
ตารางแสดงจำนวนประชากร/ครัวเรือนตามชุมชน
ลำดับ |
ชื่อชุมชน |
จำนวนประชากร |
จำนวนครัวเรือน |
||
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
|||
1 |
ชุมชนตลาด |
321 |
334 |
655 |
168 |
2 |
ชุมชนห้วยออก |
298 |
302 |
600 |
136 |
3 |
ชุมชนน้ำท่อ |
401 |
408 |
809 |
220 |
4 |
ชุมชนท่าคลอง |
353 |
369 |
722 |
159 |
รวม |
1,373 |
1,413 |
2,786 |
683 |
ที่มา : งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลคลองพน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2553)
การศึกษา
ภายในเขตเทศบาลตำบลคลองพน มีสถานศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 1 แห่ง คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองพน จะเปิดสอนในระดับชั้นเตรียมอนุบาล – อนุบาล 2 และยังมีสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเทศบาลอีก 2 แห่ง
1. โรงเรียนคลองพน เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6
2. โรงเรียนคลองพนสฤษดิ์พิทยา เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น – มัธยมศึกษาตอนปลาย
การสาธารณสุข
มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
สถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 4 ศูนย์
อสม.ชุมชนเมือง จำนวน 57 คน
ด้านสวัสดิการสังคม
เทศบาลตำบลคลองพน ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ โดยการจ่ายเบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งปรากฎรายละเอียดดังนี้
รายการ |
จำนวนที่มีอยู่จริง |
จำนวนที่ได้รับเบี้ยยังชีพ |
ผู้สูงอายุ |
308 |
269 |
ผู้พิการ |
20 |
20 |
ผู้ป่วยเอดส์ |
6 |
6 |
รวม |
334 |
295 |
การศาสนา
ศาสนสถาน
1. วัด จำนวน 1 แห่ง คือ วัดคลองพน
2. มัสยิด จำนวน 1 แห่ง คือ มัสยิดกลาง
3. ศาลเจ้า จำนวน 3 แห่ง
ศาลเจ้าพระ 108-109
ศาลเจ้าไท้เท้เอี้ย
ศาลเจ้าบักจาไทจื้อ
การนับถือศาสนา
นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 90
นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 8
นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2
วัฒนธรรม ประเพณี และวันสำคัญ
เทศบาลตำบลคลองพน มีการส่งเสริมให้ประชาชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น โดยได้มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม ทางศาสนาและวันสำคัญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ได้รับการสืบทอดให้ดำรงอยู่สืบไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็กแห่งชาติ
วันมาฆบูชา
วันสงกรานต์
วันเทศบาล
วันวิสาขบูชา
วันเข้าพรรษา
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันสารทเดือนสิบ
วันปิยมหาราช
วันลอยกระทง
0
รายได้ประชากร
รายได้เฉลี่ยของประชากรในเขตเทศบาล 30,000 บาท/คน/ปี
ครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลคลองพน ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม
พาณิชย์กรรม
ร้านขายของชำ |
จำนวน 40 แห่ง จำนวน 25 แห่ง จำนวน 13 แห่ง จำนวน 20 แห่ง จำนวน 1 แห่ง จำนวน 6 แห่ง จำนวน 5 แห่ง จำนวน 5 แห่ง จำนวน 1 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 1 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 5 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 3 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 2 แห่ง จำนวน 6 แห่ง |
อุตสาหกรรม
โรงงาน 1 แห่ง คือ โรงงานบิ๊กเกอร์วู๊ด
0
โครงสร้างพื้นฐาน
ถนนภายในเขตเทศบาล
เทศบาลตำบลคลองพนมีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ทั้งหมด จำนวน 34 สาย รายละเอียด ดังต่อไปนี้เป็นถนนคอนกรีต 14,685 เมตร ลูกรัง 5,650 เมตร แอสฟัลส์ 4,875 เมตร
ลำดับที่ |
ถนนในเขตเทศบาล |
กว้าง (เมตร) |
ยาว (เมตร) |
ผิวจราจร |
|
1 |
ถนนสุขาภิบาล 1 (คุ้งคั้ง) |
6.00 |
1,300 |
คอนกรีต |
|
2 |
ถนนสุขาภิบาล 2 (คอกช้าง) |
6.00 |
821 |
คอนกรีต |
|
3 |
ถนนสุขาภิบาล 3 (ข้างไปรษณีย์) |
6.00 |
950 |
คอนกรีต |
|
4 |
ถนนสุขาภิบาล 3/1 (บ้านโก้แข็งไปบ่อกุ้ง) |
5.00 |
500 |
คอนกรีต |
|
5 |
ถนนสุขาภิบาล 4 (ทางเปลวโรงน้ำแข็ง) |
5.00 |
655 |
คอนกรีต |
|
6 |
ถนนสุขาภิบาล 5 (โก้เด้ง) |
5.00 |
115 |
คอนกรีต |
|
7 |
ถนนสุขาภิบาล 6 (ทางวัด) |
6.00 |
700 |
คอนกรีต |
|
8 |
ถนนสุขาภิบาล 7 (บ้านนายพล) |
6.00 |
141 |
คอนกรีต |
|
9 |
ถนนสุขาภิบาล 8 (น้ำท่อเก่า) |
4.00 |
1,770 |
คอนกรีต |
|
10 |
ถนนสุขาภิบาล 9 (เพชรงาม) |
5.00 |
800 |
คอนกรีต |
|
11 |
ถนนสุขาภิบาล 10 (ศรีสุข) |
5.00 |
2,425 |
คอนกรีต |
|
12 |
ถนนสุขาภิบาล 11 (037 - ทางเข้ากองขยะ) |
5.00 |
617 |
คอนกรีต |
|
13 |
ถนนสุขาภิบาล 12 (หลังเมรุ) |
5.00 |
950 |
คอนกรีต |
|
14 |
ถนนสุขาภิบาล 13 (บ้านนา - 037) |
5.00 |
543 |
คอนกรีต |
|
15 |
ถนนสุขาภิบาล 14 (บ้านนา - วัด) |
5.00 |
511 |
คอนกรีต |
|
16 |
ถนนสุขาภิบาล 30 |
5.00 |
220 |
คอนกรีต |
|
17 |
ถนนโรงพระ – เพชรเกษม |
5.00 |
320 |
คอนกรีต |
|
18 |
ถนนราษฎร์อุทิศ |
6.00 |
320 |
คอนกรีต |
|
19 |
ถนนพรุใหญ่ |
6.00 |
790 |
คอนกรีต |
|
20 |
ถนนท่ามะพร้าว-น้ำท่อใหม่ |
10.00 |
2,300 |
แอสฟัลท์ |
|
21 |
ถนนคลองพน – ดินนา |
10.00 |
750 |
แอสฟัลท์ |
|
22 |
ถนนเทศบาล 1 (สุขาภิบาล 2 - พรุใหญ่) |
6.00 |
980 |
ลูกรัง |
|
23 |
ถนนเทศบาล 2 (สุขาภิบาล 8 – สุขาภิบาล 9) |
6.00 |
980 |
ลูกรัง |
|
24 |
ถนนเทศบาล 3 (ทางเข้าสำนักงานเทศบาล) |
6.00 |
175 |
คอนกรีต |
|
25 |
ถนนเทศบาล 4 (เพชรเกษม – สุขาภิบาล 11) |
6.00 |
1,325 |
แอสฟัลท์ |
|
26 |
ถนนเทศบาล 5 (เพชรเกษม – สุขาภิบาล 8) |
5.00 |
500 |
แอสฟัลท์ |
|
27 |
ถนนเทศบาล 6 (เพชรเกษม – น้ำท่อใหม่) |
5.00 |
400 |
ลูกรัง |
|
28 |
ถนนเทศบาล 7 (สุขาภิบาล 3 ซอย 1) |
5.00 |
400 |
ลูกรัง |
|
29 |
ถนนเทศบาล 8 (สุขาภิบาล 9 – สุขาภิบาล 10) |
6.00 |
955 |
ลูกรัง |
|
30 |
ถนนเทศบาล 9 (เพชรเกษม – น้ำท่อใหม่) |
5.00 |
360 |
ลูกรัง |
|
31 |
ถนนเทศบาล 10 (เพชรเกษม – บ้านนายนาม) |
5.00 |
585 |
ลูกรัง |
|
32 |
ถนนศิริรักษ์ (เพชรเกษม – ตลาดสดเทศบาล) |
5.00 |
62 |
คอนกรีต |
|
33 |
ถนนเทศบาล 11 (ถนนสุขาภิบาล 8 – สุขาภิบาล 9) |
5.00 |
630 |
ลูกรัง |
|
34 |
ถนนเทศบาล 12 (เพชรเกษม – เทศบาล 9) |
5.00 |
360 |
ลูกรัง |
|
ที่มา : กองช่าง เทศบาลตำบลคลองพน
การเดินทาง
การเดินทางเข้าสู่เทศบาลตำบลคลองพน สามารถเดินทางโดยทางรถยนต์ ซึ่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เป็นถนนสายหลัก สำหรับติดต่อกับอำเภอใกล้เคียงและต่างจังหวัด ซึ่งการเดินทางจะมีรถยนต์โดยสารปรับอากาศ และรถสองแถวขนาดเล็กวิ่งเป็นประจำ ส่วนการจราจรภายในเขตเทศบาลมีรถจักรยานยนต์รับจ้างให้บริการ
การไฟฟ้า
เทศบาลตำบลคลองพน ได้รับบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอคลองท่อม โดยมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 676 ครัวเรือน และไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 7 ครัวเรือน
การประปา
เทศบาลตำบลคลองพน ได้รับบริการน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอคลองท่อม โดยใช้แหล่งน้ำดิบจากชลประทานห้วยน้ำเขียว มีจำนวนผู้ใช้น้ำประปา จำนวน 400 ครัวเรือน
การสื่อสารและโทรคมนาคม
ไปรษณีย์ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้บริการด้านสื่อสาร ณ ที่ทำการไปรษณีย์คลองพน
โทรศัพท์สาธารณะในเขตเทศบาลมีให้บริการ จำนวน 3 หมายเลข
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ข้อมูลด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
อัตรากำลัง
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 3 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 4 คน
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 64 คน
เครื่องมือเครื่องใช้ของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน
รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน
รถพยาบาลกู้ภัย จำนวน 1 คัน
เครื่องเคมีดับเพลิง จำนวน 20 ถัง
ลูกบอลดับเพลิง จำนวน 30 ลูก
แหล่งน้ำดับเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง
เครื่องรับส่งวิทยุ
วิทยุสื่อสารชนิดมือถือ จำนวน 14 เครื่อง
ชนิดประจำที่ 40 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง
ชนิดติดรถยนต์ 25 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำ
1. คลองน้ำเค็ม มีความยาวประมาณ 500 เมตร
2. คลองคลองพน มีความยาวประมาณ 1,000 เมตร
3. คลองห้วยออก มีความยาวประมาณ 2,000 เมตร
การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
มีการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยเอง
ปริมาณขยะมูลฝอย จำนวน 3 ตัน/วัน
รถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอย ขนาดความจุ 10 ลบ.หลา จำนวน 1 คัน
ถังรองรับขยะมูลฝอย จำนวน 700 ใบ
พนักงานเก็บขนและกวาดขยะมูลฝอย จำนวน 8 คน
มีที่ดินสำหรับทิ้งขยะมูลฝอย จำนวน 6 ไร่
การเก็บค่าธรรมเนียมกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล
(1) หลังคาเรือน 20.-บาท/เดือน
(2) ร้านค้า 20.-บาท/เดือน
(3) โรงงานอุตสาหกรรม 50.-บาท/เดือน
(4) สถานศึกษา 200.-บาท/เดือน
(5) ตลาดสด 250.-บาท/เดือน